คำนวนค่าไฟ ได้ด้วยตัวเอง

ค่าไฟฟ้า คืออะไร คำนวนค่าไฟฟ้าได้อย่างไร

ค่าสาธารณูปโภคหลักๆ ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในทุกๆ เดือนนั้น ค่าไฟฟ้าจะเป็นค่าบริการที่แทบทุกบ้านจะต้องจ่ายในทุกๆ เดือน เพราะคงน้อยมากที่จะมีบ้านไหนที่ไม่ได้ใช้ไฟฟ้าเลย ซึ่งหลายๆ คนก็ยังมีข้อสงสัยว่าค่าใช้นั้นคิดยังไงนะ วันนี้เลยมาเรียนรู้กับวิธีการคำนวนค่าไฟด้วยตัวเองได้เลย

มารู้จักกับเครื่องใช้ไฟฟ้ากันก่อน

จริงๆแล้วสิ่งที่ทำให้การใช้งานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นก็คือการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง ดังนั้นเราต้องมาตรวจเช็คก่อนว่าภายในบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่ใช้งานบ้านในแต่ละวัน และแต่ละเครื่องต้องการใช้กำลังไฟประมาณเท่าไหร่ นอกจากแรงดันไฟฟ้าที่เป็นหน่วยหนึ่งที่ระบุการใช้ไฟฟ้าแล้ว อีกหน่วยหนึ่งที่ระบุถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะใช้สัญลักษณ์ (W) หรือวัตต์ ซึ่งจะติดระบุอยู่ที่บริเวณเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดังนั้นเราต้องตรวจเช็คว่าเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่ใช้งานในแต่ละวัน ดังนั้นผมก็จะมีตัวอย่างง่ายๆ สำหรับใช้ในการคำนวนค่าไฟฟ้าคร่าวนะครับ

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน

  • LED TV (1 เครื่อง) ใช้กำลังไฟประมาณ 60W เปิดวันละ 2 ชั่วโมง
  • ตู้เย็น (1 เครื่อง) ใช้กำลังไฟประมาณ 150W เปิดตลอดเวลา
  • หลอดไฟ LED (4 หลอด) ใช้กำลังไฟประมาณ 10W เปิดวันละ 5 ชั่วโมง
  • เครื่องปรับอากาศ (1 เครื่อง) ใช้กำลังไฟประมาณ 2000W เปิดวันละ 7 ชั่วโมง


สูตรการคำนวนจำนวนหน่วยการใช้งานไฟฟ้า

หน่วยการใช้ไฟฟ้า จะปรากฎอยู่ในมิเตอร์ไฟฟ้าในแต่ละบ้าน ซึ่งตัวมิเตอร์ไฟฟ้าจะหมุนทำงานเมื่อมีการใช้งานไฟฟ้า ซึ่งจำนวนหน่วยจะมีวิธีคำนวนจาก กำลังไฟ และระยะเวลาที่ใช้งาน ซึ่งสูตรคำนวนจะมีดังนี้

กำลังใช้ไฟฟ้า (W) X จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า (คิดแยกตามชนิด) / 1000 X จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = หน่วยต่อวัน (Unit)


ตัวอย่างการคำนวนหน่วยการใช้งานไฟฟ้า

จากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการยกตัวอย่างทางด้านบน เราจะคำนวนออกมาได้ค่าดังนี้

ทีวี : (60 x 1 / 1000) x 2 = 0.12 หน่วยต่อวัน (เดือนละ 3.6 หน่วย)
ตู้เย็น : (150 x 1 / 1000) x 24 = 3.6 หน่วยต่อวัน (เดือนละ 108 หน่วย)
หลอดไฟ : (10 x 4 / 1000) x 5 = 0.2 หน่วยต่อวัน (เดือนละ 6 หน่วย)
เครื่องปรับอากาศ : (2000 x 1 / 1000) x 7 = 14 หน่วยต่อวัน (เดือนละ 420 หน่วย)

ดังนั้นจากตัวอย่างจะใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 537.60 หน่วย

วิธีการคำนวนค่าไฟฟ้า

จากตัวอย่างบ้านหลังนี้จะใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 537.60 หน่วย ซึ่งวิธีการคำนวนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงจะเป็นอัตราก้าวหน้า โดยอัตราจะมีดังนี้ (อ้างอิงจากประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย) https://www.mea.or.th/download/view/26325

150 หน่วย แรก (หน่วยที่ 1 – 150) หน่วยละ 3.2484 บาท
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 4.2218 บาท
เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 4.4217 บาท

รวมเป็นเงิน 487.26 + 1,055.45 + 608.43 = 2,151.14 บาท (ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ค่า Ft คืออะไร ?

ค่า Ft หรือ Float time เป็นการลอยค่าต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาจะมีความแตกต่างกัน

โดยค่า Ft จะมีการมีการปรับในทุกๆ 4 เดือน และล่าสุดค่า Ft สำหรับปี 2566 ในเดือนเมษายน ค่า FT ก็ได้ถูกปรับเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย จากเดิม 93.43 สตางค์/หน่วย โดยจะมีผลถึงเดือนสิงหาคม 2566

ดูตารางค่า Ft ทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน : mea.or.th/content/detail/2985/2987/474

สรุปการคำนวนค่าไฟ

หลังจากที่เราได้คำนวนค่าไฟฟ้ามาเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องคำนวนค่า Ft โดยนำค่า Ft ไป x กับจำนวนหน่วยทั้งหมดที่เราใช้งาน เมื่อรวมเสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปบวกด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7 % ก็จะได้ค่าไฟสุดท้ายที่เราต้องชำระเงิน ดังสูตร

ค่าไฟฟ้า = (ค่าไฟฟ้าที่คำนวน + ( Ft x จำนวนหน่วย)/100) x 1.07

เมื่อคำนวนในสูตร

ค่าไฟฟ้า = (2,511.14 + (98.27 x 537.60)/100) x 1.07 = 3,252.20 บาท

หรือว่าจะสามารถคำนวนค่าไฟฟ้าจากเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้โดยตรงได้จากลิ้งด้านล่าง

การไฟฟ้านครหลวง : https://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : https://www.pea.co.th/webapplications/EstimateBill/index.html

สินค้าแนะนำ

ท่อร้อยสายไฟสแตนเลส

ท่อร้อยสายไฟสแตนเลสหุ้มพีวีซี,ท่อร้อยสายไฟอ่อนกันน้ำ,ท่อร้อยสายไฟอ่อนสแตนเลสเคลือบพีวีซี

ข้อต่อรูปตัววาย ข้อต่อท่อร้อยสายไฟรูปตัววาย

ข้อต่อรูปตัววาย ข้อต่อสามทาง รูปตัว Y (Quick Y-Distributor Connector) จำหน่ายข้อต่อสามทาง รูปตัววาย ข้อต่อตัววาย ใช้สำหรับต่อสายไฟกับท่อร้อยสายไฟ ในจุดที่จำเป็นจะต้องแยกออกเป็นสองทาง มีจำหน่ายในหลากหลายขนาด ทำจากพลาสติก PA6…