สายดิน คืออะไร ?

สายดินคืออะไร ?

สายดิน (Earthing System) เป็นตัวนำหรือเป็นสายไฟที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เป็นเส้นทางสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหลลงไปสู่ดิน เพราะโดยปกติแล้วกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์ทางไฟฟ้าสูงไปยังสถานที่ที่มีศักย์ทางไฟฟ้าต่ำกว่า เพื่อไม่ให้เป็นเป็นอันตรายต่อคน และเป็นเส้นทางให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้า ทำให้เครื่องตัดไฟทำงาน

ซึ่งปกติ เมื่อเราสัมผัสกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมา กระแสไฟฟ้าก็จะถูกไหลจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านลงสู่ดิน ทำให้เราดูดไฟฟ้าดูด แต่เมื่อมีสายดินกระแสไฟฟ้านั้นจะถูกไหลไปตามสายดิน และลงสู่ดินแทนการไหลผ่านร่างกายของเรา ทำให้เราไม่ได้รับอันตราย

ระบบสายดินเป็นอีกข้อบังคับที่ทางการไฟฟ้านครหลวงนำมาใช้สำหรับผู้ยื่นของไฟฟ้ารายใหม่ เนื่องจากสมัยก่อนมีผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก จึงเป็นข้อบังคับที่จำเป็นต้องปฎิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้งานไฟฟ้านั่นเอง

สัญลักษณ์ของสายดิน

ส่วนประกอบของสายดิน

สายดินที่ใช้งานทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้

1 . สายนำไฟฟ้า สายดินจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ สายดินที่ใช้ในวงจรย่อย คือ สายที่ติดตั้งกับเต้ารับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอีกส่วนคือสายดินที่ติดตั้งกับหลักดิน

สายดินที่ใช้ในงานไฟฟ้าโดยทั่วไป จะมีลักษณะคล้ายๆกับสายไฟ นั่นคือด้านในจะเป็นสายทองแดง และหุ้มด้วยฉนวน โดยทั่วไปสายดินจะมีสายสีเขียวสลับกับสีเหลือง

2. หลักดิน เป็นแท่งโลหะที่สามารถนำไฟฟ้าได้ ใช้ฝังลงดินเพื่อเป็นตัวเชื่อมจากสายนำไฟฟ้ากับพื้นดิน โดยทั่วไปจะทำจากทองแดง หรือเหล็กหุ้มทองแดง ทำให้ไม่เป็นสนิมและทนต่อการกัดกร่อน ซึ่งตามมาตรฐานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. (5/8 นิ้ว) ยาว 2.4 เมตร และมีความต้านทานดิน ไม่เกิน 5 โอห์ม

วิธีการติดตั้งสายดิน

การติดตั้งสายดินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อความปลอดภัย ดังนั้นจึงจะต้องติดตั้งระบบสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐาน จะต้องมีการติดตั้งสายดินใน 2 ส่วน ทั้งในเมนสวิตช์ และติดตั้งที่เครื่องใช้ไฟฟ้า และภายในอาคารหรือบ้านหลังเดียว ระบบไฟฟ้าไม่ควรจะมีการติดตั้งสายดินมากกว่า 1 จุด

โดยเฉพาะหลักดินที่จะต้องตอกไปยังพื้นที่มีดินล้วนๆ ไม่ล้อมหรือกั้นด้วย หิน กรวด ทราย และแผ่นคอนกรีต เพราะวัสดุเหล่านี้จะขัดขวางการกระจายกระแสไฟฟ้าลงดิน

ประโยชน์ของสายดิน

1. ช่วยป้องกันไฟดูดสู่คน ในกรณีที่มีกระแสไฟรั่วไหล
2. ช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีกระแสไฟฟ้ากระชาก จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานสั้นลง หรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
3. เมื่อมีไฟรั่ว สายดินจะช่วยให้เครื่องตัดกระแสไฟอัตโนมัติทำงาน ช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

เครื่องใช้ไฟฟ้าใดบ้างที่ต้องมีสายดิน

1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 : เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องมีสายดิน ซึ่งโครงสร้างหรือมีเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะและผู้ใช้ต้องมีการสัมผัสกับตัวเครื่อง เช่น ตู้เย็น เตารีด เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ
2. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 : เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดที่ไม่จำเป็นต้องมีสายดิน อาทิเช่น วิทยุ โทรทัศน์ พัดลม ซึ่งถ้ามีการทดสอบแล้วมีกระแสไฟรั่ว แสดงว่าผู้ผลิตผลิตได้ไม่ได้มาตรฐาน และจำเป็นจะต้องติดตั้งสายดินอีกด้วย


สินค้าแนะนำ

ต่อตรงท่อลูกฟูก ท่อต่อตรงพลาสติก

ต่อตรงท่อลูกฟูก ต่อตรงท่อร้อยสายไฟพลาสติก (Quick Fitting for flexible Plastic) จำหน่ายตัวต่อตรงท่อลูกฟูก ต่อตรงท่อร้อยสายไฟพลาสติก ใช้เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับท่อร้อยสายไฟพลาสติก เพื่อติดตั้งกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล่องพักสายไฟ ทำจากพลาสติก PA6…

ข้อต่อสแตนเลส 304 ข้อต่อท่อร้อยสายไฟกันน้ำ

ข้อต่อตรงสแตนเลส 304 ข้อต่อท่อร้อยสายไฟกันน้ำ จำหน่ายข้อต่อตรงสแตนเลส ข้อต่อท่อร้อยสายไฟกันน้ำ ใช้สำหรับติดตั้งกับท่อร้อยสายไฟโลหะ หรือสแตนเลส เพื่อยึดติดกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล่องพักสายไฟ มีความทนทาน ไม่เป็นสนิม สามารถใช้งานได้ยาวนาน คุณสมบัติสินค้า :…

ข้อต่อเฟล็กซ์เหล็ก ข้อต่อเฟล็กซ์โลหะ

ข้อต่อเฟล็กซ์เหล็ก ข้อต่อเฟล็กซ์โลหะ (Metal Fitting Liquid Tight – Zinc Alloy) จำหน่ายข้อต่อเฟล็กซ์เหล็ก ข้อต่อเฟล็กซ์โลหะ หรือฟิตติ้งโลหะ ใช้เป็นข้อต่อสำหรับท่อร้อยสายไฟโลหะ ใช้ล็อคท่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ…

ข้อต่อรูปตัววาย ข้อต่อท่อร้อยสายไฟรูปตัววาย

ข้อต่อรูปตัววาย ข้อต่อสามทาง รูปตัว Y (Quick Y-Distributor Connector) จำหน่ายข้อต่อสามทาง รูปตัววาย ข้อต่อตัววาย ใช้สำหรับต่อสายไฟกับท่อร้อยสายไฟ ในจุดที่จำเป็นจะต้องแยกออกเป็นสองทาง มีจำหน่ายในหลากหลายขนาด ทำจากพลาสติก PA6…